รักษารากฟัน ( Root canal treatment ) ก่อนฟันจะหายไป ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นปัญหาใหญ่ที่คุณไม่ควรละเลย

โดยเฉพาะอาการปวดฟัน เสียวฟัน ที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ เมื่อไม่ยอมเข้ารับการรักษา หรือทำการอุดฟัน ปล่อยปละละเลยให้ฟันผุ ฟันแตกเรื้อรัง อาจต้องทำการรักษารากฟัน เพราะฟันผุรุนแรงกระทั่งทะลุไปถึงโพรงประสาท เกิดการอักเสบและมีฝีรากฟันเป็นหนอง มีอาการปวดทรมาน จนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้อีกแล้ว

อีกทั้งยังอาจลุกลามไปสู่ฟันซี่อื่นๆ และสุดท้ายคุณอาจต้องสูญเสียฟันซี่นั้น หรือซี่ข้างเคียงไปเลยทีเดียว

670755912

ารรักษารากฟัน คืออะไร ?

การรักษารากฟัน ( Root canal treatment ) คือ ขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ใจกลางฟัน อันเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันแตกต่างจากการถอนฟันอย่างไร

การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันเดิมของคุณเอาไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ โดยดีกว่าการถอนฟันแล้วเลือกวิธีการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่รักษารากแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม สามารถใช้งานได้ สะดวกเป็นธรรมชาติ

รักษารากฟัน-01.jpg

สาเหตุหลักการเกิดปัญหาที่รากฟัน

  • ฟันผุมาก
  • มีปัญหาโรคเหงือก
  • ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
  • นอนกัดฟันรุนแรง
  • มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง การกัดเค้นฟัน หรือใช้ฟันรุนแรง นับเป็นการไปรบกวนโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ฟันมีอาการร้าว จนกระทั่งเชื้อโรคสามารถแทรกซึมข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันได้

ประเภทของการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ

1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ

ทันตแพทย์ตรวจวัดความยาวของ คลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย

หลังจากนั้นจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน ( Gutta percha ) โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟัน

2. การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

วิธีการนี้จะเลือกใช้ เมื่อวิธีที่หนึ่งล้มเหลว โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีกล้องจุลศัลยกรรมที่ช่วย เพิ่มกำลังขยายในการมองเห็นคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทันตแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเพิ่ม ผลสำเร็จในการรักษารากฟันให้สูงขึ้นด้วยหลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้

โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น